การใช้บทบาทสมมุติในการจัดการเรียนการสอน
เอกสารความรู้สำหรับครู “การใช้บทบาทสมมุติในการจัดการเรียนการสอน”คลิกดาวน์โหลด
เอกสารความรู้สำหรับครู “การใช้บทบาทสมมุติในการจัดการเรียนการสอน”คลิกดาวน์โหลด
แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
ตัวอย่างสื่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วย “รู้เท่าทัน”
ศาสตราจารย์ อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แถลงแก่สื่อมวลชนว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย ประจำปี 2548 สาขาสังคมวิทยา แก่ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ความรุนแรงทางเพศ : การศึกษาจากวัยรุ่นในโรงเรียน” ของ ดร.รำไพ ศรีนวล วิทยานิพนธ์ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ความรุนแรงทางเพศ ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้หญิงที่ถูกกระทำต่อครอบครัว ต่อสังคมที่เกี่ยวข้องอย่างมากเพราะต้องได้รับความทรมานจากการบาดเจ็บร่างกาย อาจต้องติดเชื้อเอดส์ ส่วนผลกระทบระยะยาวที่พบบ่อย คือ ความพิการ ความผิดปกติด้านจิตใจ กลายเป็นคนซึมเศร้า และถ้าผู้ถูกกระทำความรุนแรงอยู่ในวัยเรียน ผลกระทบทางลบย่อมส่งผลถึงการเรียนรู้ขาดสมาธิ ขาดความกระตือรือร้น อาจต้องประสบปัญหายุ่งยากจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์งานวิจัยครั้งนี้เพื่อค้นหาความหมายของความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง จากการศึกษาวัยรุ่นหญิงชายให้ความหมายถึง การล่วงเกินด้วยวาจา การล่วงเกินทางเพศทั้งที่สัมผัสร่างกายและไม่ได้สัมผัสร่างกาย การบังคับมีเพศสัมพันธ์ ศึกษาถึงระดับและแบบแผนของการมีเพศสัมพันธ์ พบว่าวัยรุ่นในโรงเรียนมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนสูงสุดในวัยรุ่นอาชีวศึกษา ยิ่งกว่านั้นวัยรุ่นหญิงในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เคยถูกทำความรุนแรงรูปแบบต่างๆ รวมทั้งถูกข่มขืน โดยร้อยละ 70% ของผู้ที่ข่มขืนวัยรุ่นหญิงเป็นคู่รักของวัยรุ่นเอง และคนรู้จัก นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกว่าอายุของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของเด็กวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลดลงเหลือ 10 – 11 ปี และพบปัจจัยที่มีอำนาจต่อการเป็นผู้กระทำความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิงของวัยรุ่นชายมีทั้ง 4 รูปแบบ อันได้แก่ การไม่ได้สัมผัสร่างกาย การล่วงเกินสัมพันร่างกาย การพยายามข่มขืนผู้หญิง และข่มขืนผู้หญิงจนสำเร็จ คือ เพื่อนของตนเอง แสดงว่ากลุ่มเพื่อนมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง ปัจจัยสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการให้ความหมายความรุนแรงทางเพศ ยังรวมถึงการยอมรับของสังคม กลุ่มเพื่อนไม่ได้แสดงความรังเกียจ และการยอมรับในมายาคติ (Myths) ว่าการปฏิเสธเรื่องเพศหมายถึงตกลง และการแต่งตัวยั่วยวน ประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้นอกจากได้ความหมายความรุนแรงทางเพศแล้ว ยังได้แนวทางเพื่อป้องกัน และแก้ไขได้อย่างตรงสภาพปัญหา ต่อวัยรุ่นปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัลชมเชย จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี โดยพิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2549 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
____________________________________________________________________________________________________
สถานที่ติดต่อ : กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
189 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร
กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 0-2286-0108
โทรสาร 0-2287-3553
โทรศัพท์มือถือ 0-1632-1309
E-mail : Chai2495@hotmail.com , pai2495@yahoo.com
นำเสนอประเด็นความรุนแรงทางเพศ วิดีโอนี้จัดทำขึ้นเพื่อนักเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
ได้คิดว่าความรุนแรงทางเพศคืออะไร และทำให้ผู้อื่นรู้สึกอย่างไร การพูดคุยกับเด็กๆ วัยรุ่นเผยให้เห็นทัศนคติต่างๆ
ที่มีต่อการใช้ความรุนแรงทางเพศ และบ่อยครั้งเพียงไรที่พฤติกรรมนี้ถูกตีความว่า เป็นเรื่องปกติซึ่งส่งผลให้เกิดรูปแบบการใช้ความรุนแรง
ที่ไม่เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวาง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการถกเถียง เกี่ยวกับประเด็นที่อ่อนไหวนี้ วิดีโอนี้จึงถูกแบ่งออกเป็นช่วงย่อย ๆ
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจหัวข้อนี้ได้ชัดเจนขึ้น